วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ

๑.๑ ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั้ง ภายในและภายนอกร่างกาย การแบ่งส่วนประกอบของร่างกายออกเป็นระบบต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้องง่ายขึ้น ระบบต่างๆในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
     หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิ-าพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย
มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
๑. รักษาอนามัยส่วนบุคคล
๒. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
๓. บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
๔. พักผ่อนให้เพียงพอ
๕. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
๖. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
๗. ตรวจเช็คร่างกาย

๑.๒ ระบบประสาท
     หมายถึง ระบบทที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน

องค์ประกอบของระบบประสาท

๑. ระบบประสาทส่วนกลาง
  
สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาท บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ ๑.๔ กโลกรัม สมองแบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาท และแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาวเรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์ เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท

ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง มีหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

๒. ระบบประสาทส่วนปลาย

เส้นประสาทสมอง มีอยู่ ๑๒ คู่ ทอดมาจากสมองผ่านรูต่างๆ ของกะโหลกศีรษะไปเลี้ยงบริเวณศีรษะและลำคอเป็นส่วนใหญ๋

เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู๋ ๓๑ คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วงๆ ผ่านรูระหว่างกระดูกสันหลังไปสู่ร่างกาย แขน และขา

ประสาทระบบอัตโนมัติ เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจของจิตใจโดยไม่รู้สึกตัว

การบำรุงรักษาระบบประสาท

๑. ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
๒. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
๓. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อสมอง
๔. พยายามผ่อนคลายความเครียด
๕. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

๑.๓ ระบบสืบพันธุ์

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย


 ๑. อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ

๒. ถุงหุ้มอัณฑะ ทำหน้าที่ควบคุมอุณภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ

๓. หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเติบโตเด็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ

๔. หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

๕. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ

๖. ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างๆ อ่อนเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายกรดในท่อปัสสาวะ

๗. ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง


 ๑. รังไข่ ทำหน้าที่ผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง

๒. ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก

๓. มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์

๔. ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
๑. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
๒. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
๓. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
๔. พักผ่อนให้เพียงพอ
๕. ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
๖. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
๗. ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่น
๘. ไม่สำส่อนทางเพศ
๙. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับอวัยวะเพศควรรีบปรึกษาแพทย์

๑.๔ ระบบต่อมไร้ท่อ
  
      เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท

ต่อมไร้ท่อในร่างกาย

๑. ต่อมใต้สมอง เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย

๒. ต่อมหมวกไต มี ๒ ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสารหลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเกลือที่ไต

๓. ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่หลั่ง ไทรอกซิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม

๔. ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

๕. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย

๖. รังไข่ ในเพศหญิง และอัณฑะ ในเพศชาย ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ

๗. ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
๑. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง ๕ หมู่
๒. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
๓. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
๔. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
๕. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อ
๖. พักผ่อนให้เพียงพอ


นายพลธนัฐ อุรุเหมานนท์ ม. 6/2 เลขที่ 17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น